แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ตัว A คือ มีความสำคัญอย่างไรถึงนำมาใส่ใน STEM ตัว A มาจากคำว่า ART ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่ถูกนำมาเป็นทักษะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านการต่อยอดจาก STEM เป็น STEAM ซึ่งถือเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม ผสานรวมกับศิลปะที่จะช่วยกระตุ้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแรงบันดาลใจ ความสุขในการเรียนรู้ สู่การเติบโตอย่างมีสมดุล นั่นถือเป็นทักษะจำเป็นแห่งศตวรรษ 21 ที่ครูทุกคนควรต้องรู้และนำมาปรับใช้กับการสอนในห้องเรียนจริง ซึ่งการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ อาจนำไปสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีได้ และถ้าครูลองมองย้อนกลับไป จะพบว่าในหลายกิจกรรมจะมีกระบวนการที่ต้องใช้ทั้งทักษะทางความคิดและการออกแบบร่วมกัน อย่างกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนปั้นแป้งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามจินตนาการเพื่อทำขนมบัวลอย หรือกิจกรรมว่าวสร้างสรรค์ ที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบโครงว่าวเป็นรูปทรงต่าง ๆ
การสั่งงานคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานตามความต้องการของมนุษย์ เหมือนการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ แต่เปลี่ยนจากภาษามนุษย์เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ประเทศไทยเราจะเรียกอีกอย่างว่า “วิทยาการคำนวณ” ภาษาที่ใช้ในการ Coding ก็มีหลายภาษาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์รุ่นใหญ่อย่าง C , PHP, Java หรือที่กำลังได้รับความนิยมในตอนนี้ก็คือ Python แต่ละภาษาก็มีการใช้งานต่างกันออกไป เช่น Objective C มันจะถูกนำไปใช้สำหรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นตระกูล iOS หรือภาษาคอมพิวเตอร์อย่าง Java ที่นิยมใช้พัฒนาแอปในฝั่งแอนดรอยด์
เป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแตกปัญหาออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละเปลาะ อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนการเขียนโค้ดจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน เมื่อฝึกฝนไปสักพักก็จะทำให้เข้าใจหลักการและจับประเด็นได้ดีขึ้น